หมวกกันกระแทกกับเชื้อราทำให้ผมร่วง

หมวกกันกระแทก เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยลดแรงกระแทก ซึ่งแรงกระแทกนั้นไม่ได้มาจากความรุนแรงที่มาจากความเร็วขณะขับขี่เพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถเกิดจากการทำให้หยุดแบบกระทันหันอีกด้วย ดังนั้น หมวกกันกระแทกส่วนใหญ่จึงทำจากวัสดุที่มีความแข็งแรงแต่มีน้ำหนักเบาอย่าง EPS หรือ Expanded Polystyrene ซึ่งทำจากโฟมอัดกันจนแข็งแรงมีคุณสมบัติช่วยกระจายและดูดซับ

แรงกระแทกที่จะส่งผลต่อศีรษะแลสมอง  จากนั้นก็จะหุ้มเปลือกนอกด้วยพลาสติกบางๆ ที่จะมีความสวยงามและมีความลื่น จะช่วยกระจายแรงกระแทกที่มีผลมาจากแรงกดในบริเวณที่กระทบกับพื้นแข็งลดลง ทำให้ช่วยลดความรุนแรงของอุบัติเหตุที่มีผลกับกระดูกคอของผู้ขับขี่และยังช่วยห่อหุ้มโฟมให้คงสภาพที่จะรองรับแรงกระแทกได้อีกด้วย

หลักในการสวมหมวกกันกระแทกที่ถูกต้องคือ ขนาดหมวกต้องพอดีและกระชับครอบคลุมทั่วพื้นที่ศีรษะ วัสดุที่จะช่วยเสริมให้เกิดความกระชับพอดีได้นั้น นั่นก็คือ ฟองน้ำ หรือเบาะที่ใช้เสริมภายในหมวก ช่วยให้การสวมใส่หมวกกันกระแทกสบาย ช่วยซับเหงื่อ และช่วยเสริมพื้นที่ให้ในกรณีหมวกหลวมไม่พอดี แต่หากไม่ถอดมาซักหรือผึ่งแดด บ้าง ก็จะกลายเป็นที่สะสมของฝุ่น คราบเหงื่อ ความชื้นทันที ทำให้ฟองน้ำเสื่อมสภาพการงานเร็ว และยังนำมาซึ่งปัญหา กลิ่นอับชื้น อาการคันหนังศีรษะ รังแค เชื้อรา และผมร่วงได้อีกด้วย ดังนั้น ทุกครั้งหลังจากที่มีการใช้งานแล้ว ควรมีการถอดนำมาซักและผึ่งแดด เพื่อป้องกันกลิ่นไม่พึงประสงค์และปัญหา เชื้อรา 

ปัญหาผมร่วงเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย

ปัญหาผมร่วง ผมบาง นอกจากจะเกิดขึ้นได้กับทุกเพศแล้วยังเกิดขึ้นได้กับทุกวัยด้วย ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะผู้ใหญ่อย่างเดียว เด็กก็สามารกเกิดขึ้นได้เช่นกัน ปัญหาเกี่ยวกับผมและหนังศีรษะแต่ละวัยจะแตกต่างกันออกไป โดยมีฮอร์โมน อาหารสิ่งแวดล้อมของอากาศ สภาพบางอย่างของโรค และสารเคมีเป็นปัจจัยส่งเสริมให้ในแต่ละบุคคลมีสภาพปัญหาเกี่ยวกับ เส้นผม และหนังศีรษะไม่เหมือนกัน

 ในเด็กเล็ก หรือ ทารก

1.ภาวะการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน ทำให้รากผมไม่แข็งแรง ผมของเด็กที่ถูกสร้างตั้งแต่อยู่ในครรภ์ยังเป็นผมอ่อน และอ่อนแอมาก หากถูกเสียดสีด้วยเบาะนอน หมอน ก็จะเกิดปัญหาผมร่วงได้ง่ายขึ้น พบตั้งแต่อายุ 3-4 เดือนละจะหยุดร่วงในอายุ 6 เดือนการที่ผมร่วงในลักษณะนี้ เป็นการผลัดผมที่อ่อนแอออกแล้วขึ้นใหม่เพื่อแทนที่ ผมที่งอกขึ้นมาใหม่จะมีความแข็งแรงและมีสีเข้มขึ้นตามกรรมพันธุ์ของพ่อและแม่

2.การเจ็บป่วยของเด็ก เช่น ภาวะของโรคทางออโตอิมมูนระดับฮอร์โมน และทางระบบพันธุกรรม ลักษณะคือผมจะร่วงเป็นหย่อมหรือทั้งศีรษะ หรือการที่เด็กมีไข้สูงหรือป่วยมากทำให้ผมหยุดการเจริญเติบโต แต่เมื่อหายป่วยแล้วผมก็จะขึ้นมาใหม่เหมือนเดิม

3. การทำความสะอาดไม่ดีพอทำให้เกิดการอับชื้น จนเกิดเชื้อราเมื่อเชื้อราเข้าไปทำลายรากผมเสียหาย อาจทำให้ผมร่วง และไม่สามารถขึ้นมา หากสงสัยว่าเชื้อราเกิดขึ้นกับหนังศีรษะของเด็ก ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีรักษาโดยเร็ว

 ในวัยรุ่น หรือ วัยผู้ใหญ่   

1. การแพ้สารเคมี คือกลุ่มยาดัด ยายืด และยาเปลี่ยนสีผม คนส่วนใหญ่นิยมเปลี่ยนสีผมบ้างก็ยืดผม ดัดผม โกรกผมปกปิดผมขาว สารเคมีเหล่านั้นจะสารกัดกร่อนรุนแรงออกฤิทธิ์ทำร้ายผม และหนังศีรษะโดยตรงเมื่อลงลึกไปถึงชั้นใต้ผิวและรากผม ทำให้รากผมอ่อนแอ และเกิดปัญหาผมหงอกก่อนวัย และผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้านในที่สุด

2. ผลข้างเคียงจากการเจ็บป่วยด้วยโรคบางโรค และจากการใช้ยาบางชนิดรักษา เช่น การเจ็บป่วยด้วยโรค SLE (ลูปัส) โรคของต่อมธัยรอยด์ และการทำคีโมในผู้ป่วยโรคมะเร็ง อาการเจ็บป่วยเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการทำคีโม และผลจากการได้รับยาคีโมนี้นอกจากจะไปทำลายเซลล์มะเร็งแล้ว ยังทำลายเซลล์ที่เติบโตไวภายในร่างกายอื่นๆ ที่ทั้งเซลล์รากผม

ผู้สูงอายุ

การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายฮอร์โมนตัวนี้เป็นสาเหตุทำให้เกิดการร่วงของเส้นผม เฉพาะในผู้ที่เริ่มมีอายุเพิ่มมากขึ้น ร่างกายมีความสามารถในการหยุดยั้งการทำงานของฮอร์โมน DHT ได้น้อยลงจึงทำให้ฮอร์โมน DHT ทำปฏิกิริยากับรากผม ส่งผลให้ผมบางลง และร่วงอย่างถาวร โดยปกติผมของคนเราย่อมหลุดร่วงเป็นประจำอยู่ทุกวันอยู่แล้ว แต่ก็จะขึ้นมาใหม่แทนเส้นเก่าที่หลุดร่วงไป แต่ในกรณีของผู้สูงอายุผมที่หลุดร่วงไปจะไม่มีการงอกขึ้นแทนที่ใหม่ทำให้ศีรษะบางลงเรื่อยๆ

การอาการแพ้แชมพู

   แชมพูที่ดีนอกจากจะช่วยล้างทำความสะอาดสิ่งสกปรกให้ออกไปจากเส้นผมแล้ว แชมพูที่ดีจะไม่ระคายเคืองต่อเยื่อบุตา ล้างออกง่าย และช่วยให้ผมนุ่มสลวยจัดทรงง่าย แต่แชมพูไม่ได้มีเพียงแต่สารลดเเรงตึงผิวเท่านั้น ยังมีสารต่างๆเพื่อให้แชมพูน่าใช้ เช่น น้ำหอม สี ยาบางชนิด และสารป้องกันตกตะกอน อาจเป็นไปได้ว่าอาการแพ้แชมพูนั้น สาเหตุแท้จริงอาจมาจากสารหลัก และอาจมาจากการแพ้สารเติมแต่งบางชนิดก็เป็นได้ ซึ่งอาการที่พบบ่อยที่สุด คือมีผดผื่น อาการคันหนังศีรษะ เป็นรังแค เส้นผมร่วง  เมื่อมีอาการเหล่านี้ที่ใช้แชมพูจะต้องหยุดใช้แชมพูนั้นๆทันที

    แชมพูมีสารลดแรงตึงผิวเป็นสารประกอบหลักซึ่ง แน่นอนว่าเป็นสารเคมีที่ส่วนใหญ่จะมีค่าความเป็นด่างสูง  ทำหน้าที่ชะล้างสิ่งสกปรกโดยไม่แยกแยะว่าส่วนไหนควรกำจัด หรือส่วนใหนควรละเว้น แน่นอนว่าน้ำมันธรรมชาติที่ต่อมไขมันใต้ผิวหนังศีรษะผลิตออกมาเพื่อป้องกัน และสร้างความแข็งแรงให้แก่หนังศีรษะ ก็ถูกชะล้างออกไปด้วยเช่นกันทำให้หนังศีรษะขาดความชุ่มชื้นอย่าไม่สมดุล และเมื่อหนังศีรษะเกิดความอ่อนแอสะสมสารเคมีอื่นๆ ที่ไม่น่าจะสร้างปัญหาให้แก่เส้นผมและหนังศีรษะได้ เช่นสารแต่งเติมก็จะเข้าไปอุดตันตามรูขุมขนทั่วหนังศีรษะ และเส้นผมจะสามารถสร้างความเสียหาย และทำให้เกิดการระคายเคือง  เกิดอาการคันหนังศีรษะ เส้นผม แห้งชีฟู ขึ้นได้ และเมื่อเกิดการสะสมโดยไม่มีการ หยุด หรือเปลี่ยนแชมพู อาการก็จะเริ่มรุนแรงขึ้น เช่นเกิดการแตกตัวและหลุดออกของเซลหนังศีรษะที่เรวผิดปกติ จนเกิดเป็นรังแค ผิวหนังอักเสบ และเส้นผมร่วง เป็นต้น

   ควรเลือกใช้แชมพูที่มีความอ่อนโยน แต่หากหลีกเลี่ยงที่จะต้องพบเจอกับแชมพูที่มีส่วนผสมของสารชะล้างที่มีปริมาณมากๆ ไม่ได้เราก็ควรล้างฟองออกให้หมดจด เพื่อหลีกเลี่ยงการสะสมของสารเคมี และหากเริ่มมีอาการแสบ คันหนังศีรษะ ผมร่วง หลังจากใช้แชมพูครั้งแรกต้องหยุดใช้แชมพูนั้นๆทันที