ปัญหาผมร่วงเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย

ปัญหาผมร่วง ผมบาง นอกจากจะเกิดขึ้นได้กับทุกเพศแล้วยังเกิดขึ้นได้กับทุกวัยด้วย ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะผู้ใหญ่อย่างเดียว เด็กก็สามารกเกิดขึ้นได้เช่นกัน ปัญหาเกี่ยวกับผมและหนังศีรษะแต่ละวัยจะแตกต่างกันออกไป โดยมีฮอร์โมน อาหารสิ่งแวดล้อมของอากาศ สภาพบางอย่างของโรค และสารเคมีเป็นปัจจัยส่งเสริมให้ในแต่ละบุคคลมีสภาพปัญหาเกี่ยวกับ เส้นผม และหนังศีรษะไม่เหมือนกัน

 ในเด็กเล็ก หรือ ทารก

1.ภาวะการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน ทำให้รากผมไม่แข็งแรง ผมของเด็กที่ถูกสร้างตั้งแต่อยู่ในครรภ์ยังเป็นผมอ่อน และอ่อนแอมาก หากถูกเสียดสีด้วยเบาะนอน หมอน ก็จะเกิดปัญหาผมร่วงได้ง่ายขึ้น พบตั้งแต่อายุ 3-4 เดือนละจะหยุดร่วงในอายุ 6 เดือนการที่ผมร่วงในลักษณะนี้ เป็นการผลัดผมที่อ่อนแอออกแล้วขึ้นใหม่เพื่อแทนที่ ผมที่งอกขึ้นมาใหม่จะมีความแข็งแรงและมีสีเข้มขึ้นตามกรรมพันธุ์ของพ่อและแม่

2.การเจ็บป่วยของเด็ก เช่น ภาวะของโรคทางออโตอิมมูนระดับฮอร์โมน และทางระบบพันธุกรรม ลักษณะคือผมจะร่วงเป็นหย่อมหรือทั้งศีรษะ หรือการที่เด็กมีไข้สูงหรือป่วยมากทำให้ผมหยุดการเจริญเติบโต แต่เมื่อหายป่วยแล้วผมก็จะขึ้นมาใหม่เหมือนเดิม

3. การทำความสะอาดไม่ดีพอทำให้เกิดการอับชื้น จนเกิดเชื้อราเมื่อเชื้อราเข้าไปทำลายรากผมเสียหาย อาจทำให้ผมร่วง และไม่สามารถขึ้นมา หากสงสัยว่าเชื้อราเกิดขึ้นกับหนังศีรษะของเด็ก ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีรักษาโดยเร็ว

 ในวัยรุ่น หรือ วัยผู้ใหญ่   

1. การแพ้สารเคมี คือกลุ่มยาดัด ยายืด และยาเปลี่ยนสีผม คนส่วนใหญ่นิยมเปลี่ยนสีผมบ้างก็ยืดผม ดัดผม โกรกผมปกปิดผมขาว สารเคมีเหล่านั้นจะสารกัดกร่อนรุนแรงออกฤิทธิ์ทำร้ายผม และหนังศีรษะโดยตรงเมื่อลงลึกไปถึงชั้นใต้ผิวและรากผม ทำให้รากผมอ่อนแอ และเกิดปัญหาผมหงอกก่อนวัย และผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้านในที่สุด

2. ผลข้างเคียงจากการเจ็บป่วยด้วยโรคบางโรค และจากการใช้ยาบางชนิดรักษา เช่น การเจ็บป่วยด้วยโรค SLE (ลูปัส) โรคของต่อมธัยรอยด์ และการทำคีโมในผู้ป่วยโรคมะเร็ง อาการเจ็บป่วยเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการทำคีโม และผลจากการได้รับยาคีโมนี้นอกจากจะไปทำลายเซลล์มะเร็งแล้ว ยังทำลายเซลล์ที่เติบโตไวภายในร่างกายอื่นๆ ที่ทั้งเซลล์รากผม

ผู้สูงอายุ

การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายฮอร์โมนตัวนี้เป็นสาเหตุทำให้เกิดการร่วงของเส้นผม เฉพาะในผู้ที่เริ่มมีอายุเพิ่มมากขึ้น ร่างกายมีความสามารถในการหยุดยั้งการทำงานของฮอร์โมน DHT ได้น้อยลงจึงทำให้ฮอร์โมน DHT ทำปฏิกิริยากับรากผม ส่งผลให้ผมบางลง และร่วงอย่างถาวร โดยปกติผมของคนเราย่อมหลุดร่วงเป็นประจำอยู่ทุกวันอยู่แล้ว แต่ก็จะขึ้นมาใหม่แทนเส้นเก่าที่หลุดร่วงไป แต่ในกรณีของผู้สูงอายุผมที่หลุดร่วงไปจะไม่มีการงอกขึ้นแทนที่ใหม่ทำให้ศีรษะบางลงเรื่อยๆ